วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Open Access


OA   OPEN ACCESS

OA หรือ Open Access  หมายถึง  บทความทางวิชาการในรูปแบบดิจิตอล ที่ให้บริการบนเครือข่าย Internet และเปิดให้เข้าใช้ได้อย่างเสรี  ( เอกสารเปิด )
เป็นแนวคิดการเปิดให้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเสรี  โดยผู้ใช้บริการสามารถกระทำ การคัดลอก เชื่อมโยง แจกจ่าย นำไปใช้ ได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องขออนุญาต   ( ทั้งนี้ ผู้แต่งยังคงมีสิทธิในการเป็นเจ้าของบทความอยู่ )

แนวคิดที่ทำให้เกิด OA 

-          การผลิต E – Publishing ประหยัดต้นทุนในการผลิต มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์
-          Internet  เป็นช่องทางที่ง่ายและสะดวกในการเข้าถึง เชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล
-          สิ่งพิมพ์ ประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ราคาสูง และมีต้นผลิตในการผลิตสูงมาก หากจัดทำ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะประหยัดงบประมาณไปได้มาก  อีกทั้งสถาบันสารสนเทศ หรือห้องสมุดเอง ก็ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการสั่งซื้อ สิ่งพิมพ์ประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  กล่าวได้ว่า การซื้อฐานข้อมูล วารสาร มีราคาถูกกว่า สั่งซื้อ วารสารฉบับสิ่งพิมพ์
-          งบประมาณในการจัดทำการวิจัยในแต่ละครั้ง  นักวิชาการได้ งบประมาณจากภาษีของประชาชน  กล่าวคือ เหตุใดประชาชนที่จ่ายภาษีแล้ว ยังต้องจ่ายเงินในการเข้าถึงบทความวิชาการเหล่านั้นอีก 
-          การเผยแพร่ความรู้ สามารถทำได้ง่าย กว้างขวาง ผ่านช่องทางได้มากมาย เช่น  IR , Google Scholar เป็นต้น 
-          นักวิชาการ ผู้เขียนบทวิชาการเอง ก็จะได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจาก เมื่อบทความเป็นบทความสาธารณะ ย่อมมีผู้นำไปใช้มาก ค่า Impact Factor ก็จะสูงขึ้น   นักวิชาการผู้เขียนบทความเองก็จะมี การนำชื่อไปอ้างอิงมากขึ้นเท่านั้น


Impact Factor 

                Impact Factor   คือ  ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ   เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสาร ที่ได้ถูกอ้างอิง หรือ ถูกนำไปใช้   เป็นเครื่องมือช่วยประเมินคุณภาพเปรียบเทียบ และจัดอันดับวารสาร และเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด



  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น