วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Pre-Print , Post-Print , Grey Literature , White Paper & Errata / Corrigenda


Pre-Print 

คือ เอกสารต้นฉบับ หรือ เอกสารฉบับร่าง ที่ยังไม่ได้ทำการพิมพ์และเผยแพร่  อยู่ในขั้นตอน การประเมินคุณภาพ  เพื่อตรวจสอบ  ปรับปรุง และแก้ไข

Post – Print

คือ เอกสารฉบับสมบูรณ์ ที่ได้รับการประเมินคุณค่า ( ปรับปรุงจาก Preprint แล้ว) เรียบร้อยแล้ว  โดยเอกสาร Post Print  อาจเป็นเอกสารที่ทางสำนักพิมพ์กำลังอยู่ในกระบวนการดำเนินการตีพิมพ์ก็ได้เลย   
**Both digital “pre-print” and “post-print”  are called "e-prints"


Grey  Literature

Grey  หมายถึง เอกสารที่หาได้ยาก กล่าวคือเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
Grey Literature  คือ  เอกสารที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด เอกสารที่ไม่มีตีพิมพ์ทั่วไป( เช่น หนังสือ วารสาร )   หรือเอกสารอื่นๆ ที่มีการควบคุมคุณภาพ  โดยมีการพิจารณาก่อนที่จะนำไปตีพิมพ์ และไม่นำไปตีพิมพ์แพร่หลาย  หรือเป็นสารสนเทศข้อมูลที่จัดทำโดยรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ โดยไม่ผลิตในเชิงเพื่อธุรกิจ

White Paper

คือ  เอกสารที่ถูกจัดทำขึ้น เพื่อเผยแพร่เจตจำนง ความคิดเห็น หรือ ข้อเท็จจริง จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เพื่อประโยชน์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเผยแพร่ ด้วยวิธีการแจกฟรี  อาจจัดทำโดย สำนักสงฆ์ , การทหาร เป็นต้น แต่เอกสารชนิดนี้ ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณา หรือ การชวนเชื่อ  ( not persuasive or propaganda )

Errata / Corrigenda 

หมายถึง  เอกสารที่ผิดพลาด  ต้องการการปรับปรุง  และสามารถ ปรับปรุงแก้ไขได้ เช่น  เอกสารหรือสารสนเทศ IR  ที่สามารถแก้ไข หรือ ปรับปรุงได้


วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์
                ลิขสิทธิ์  หมายถึง  ความเป็นเจ้าของ  ความมีสิทธิแต่ผู้เดียว โดยที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์ กระทำ การใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด โดยผู้อื่นไม่สามารถทำซ้ำ  ดัดแปลง หรือ นำไปใช้ในทางการค้าได้   เพราะการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมานั้นต้องใช้ สติปัญญา และความสามารถ ผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงควรได้รับความคุ้มครอง
ระยะเวลาที่ให้เวลาคุ้มครอง
เดิม ให้ระยะเวลาความคุ้มครองสิทธิ์ นาน 50 ปี  
ปัจจุบัน  ให้ระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์ ต่ำสุด 70 ปี
ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์นานสูงสุดถึง  120  ปี   


ลิขสิทธิ์โดยธรรม ( Fair Use )
ลิขสิทธิ์โดยธรรม  หมายถึง  การอนุญาตให้ทำสำเนา  งานที่มีลิขสิทธิ์ ในจำนวนจำกัด  เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษา  และวิจัย  รวมไปถึงการใช้งาน โสตทัศนวัสดุ หรือ ภาพยนตร์  งานศิลปกรรม  งานสถาปัตยกรรม เป็นต้น
เนื่องด้วยปัจจุบันมีลิขสิทธิ์โดยธรรม จึงมีกฎเกณฑ์ปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์ ที่ถือว่าเหมาะสม ดังนี้
1.  ภาพเคลื่อนไหว  >> ทำซ้ำและหรือเผยแพร่ได้ไม่เกิน 10 % หรือ 3 นาที ของแต่ละเรื่อง
2.  ดนตรีกรรม และมิวสิกวิดีโอ  >>  สามารถทำซ้ำและหรือสำเนางานได้ไม่เกิน 10 % แต่ต้องไม่มากกว่า 30 วินาทีของแต่ละงานและ จะดัดแปลง ทำนองหรือส่วนอันเป็นสาระสำคัญไม่ได้
3.  รูปภาพและภาพถ่าย 
>>  ใช้ได้ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หากเป็นการใช้ภาพจากงานวารสารหรือ สิ่งพิมพ์  สามารถใช้ได้ไม่เกิน 10 % หรือ 15 ภาพ ของจำนวนภาพทั้งหมดที่ปรากฏในวารสารหรือ สิ่งพิมพ์นั้น
4.  ข้อความ  >>  ทำซ้ำและหรือเผยแพร่ได้ไม่เกิน 10 % หรือ 1,000 คำ ของแต่ละเรื่องหรือแต่ละบทความ   
5.  ข้อมูลจากงานรวบรวมอันมีลิขสิทธิ์   >>  ไม่เกิน 10 % หรือ 2,500 รายกา /ข้อมูล


ครีเอทีฟ คอมมอนส์  ( Creative Commons: CC )

ครีเอทีฟ คอมมอนส์  ( Creative Commons: CC )   คือ  องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรจัดตั้งขึ้นขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม
สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

ในเว็บไซต์ของ Creative Commons ( http://www.creativecommons.org/ ) เปรียบไว้ว่า Creative  Commons หรือ CC มีแนวคิดเดียวกับ OA ( open source software ) เพียงแต่ไม่ได้เจาะจงใช้กับซอฟต์แวร์ แต่ใช้กับงานสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น ภาพ เพลง  ภาพเคลื่อนไหว งานเขียน เป็นต้น Creative Commons เป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกลางระหว่าง  Copy Right กับ Public Domain เรียกง่ายๆ ว่าเป็น "Some" Right Reserved ก็ได้
รูปแบบสัญญาของ Creative Commons มี 11 แบบ เกิดจากการผสมกันของคุณสมบัติ แบบ ดังต่อไปนี้
·         Attribution คือ อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ได้ ถ้าอ้างอิงที่มา
·         Noncommercial คือ ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงการค้า
·         No Derivative Works คือ ต้องนำผลงานไปใช้ตรงๆ ทั้งชิ้น ห้ามไม่ให้ดัดแปลง หรือ ตัดบางส่วน
·         Share Alike คือ หลังจากนำไปใช้แล้ว  ผลงานนั้นต้องมีสัญญาแบบเดียวกันกับผลงานเดิมด้วย 


CC  ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง บนเว็บไซด์ ที่ให้บริการสารสนเทศ และโสตทัศนวัสดุ ที่เรียกว่า CC Material เช่น Flickr.com  เป็นต้น 

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Open Access


OA   OPEN ACCESS

OA หรือ Open Access  หมายถึง  บทความทางวิชาการในรูปแบบดิจิตอล ที่ให้บริการบนเครือข่าย Internet และเปิดให้เข้าใช้ได้อย่างเสรี  ( เอกสารเปิด )
เป็นแนวคิดการเปิดให้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเสรี  โดยผู้ใช้บริการสามารถกระทำ การคัดลอก เชื่อมโยง แจกจ่าย นำไปใช้ ได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องขออนุญาต   ( ทั้งนี้ ผู้แต่งยังคงมีสิทธิในการเป็นเจ้าของบทความอยู่ )

แนวคิดที่ทำให้เกิด OA 

-          การผลิต E – Publishing ประหยัดต้นทุนในการผลิต มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์
-          Internet  เป็นช่องทางที่ง่ายและสะดวกในการเข้าถึง เชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล
-          สิ่งพิมพ์ ประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ราคาสูง และมีต้นผลิตในการผลิตสูงมาก หากจัดทำ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะประหยัดงบประมาณไปได้มาก  อีกทั้งสถาบันสารสนเทศ หรือห้องสมุดเอง ก็ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการสั่งซื้อ สิ่งพิมพ์ประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  กล่าวได้ว่า การซื้อฐานข้อมูล วารสาร มีราคาถูกกว่า สั่งซื้อ วารสารฉบับสิ่งพิมพ์
-          งบประมาณในการจัดทำการวิจัยในแต่ละครั้ง  นักวิชาการได้ งบประมาณจากภาษีของประชาชน  กล่าวคือ เหตุใดประชาชนที่จ่ายภาษีแล้ว ยังต้องจ่ายเงินในการเข้าถึงบทความวิชาการเหล่านั้นอีก 
-          การเผยแพร่ความรู้ สามารถทำได้ง่าย กว้างขวาง ผ่านช่องทางได้มากมาย เช่น  IR , Google Scholar เป็นต้น 
-          นักวิชาการ ผู้เขียนบทวิชาการเอง ก็จะได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจาก เมื่อบทความเป็นบทความสาธารณะ ย่อมมีผู้นำไปใช้มาก ค่า Impact Factor ก็จะสูงขึ้น   นักวิชาการผู้เขียนบทความเองก็จะมี การนำชื่อไปอ้างอิงมากขึ้นเท่านั้น


Impact Factor 

                Impact Factor   คือ  ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ   เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสาร ที่ได้ถูกอ้างอิง หรือ ถูกนำไปใช้   เป็นเครื่องมือช่วยประเมินคุณภาพเปรียบเทียบ และจัดอันดับวารสาร และเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด



  

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวโน้ม E-Publishing และ IR

Trend E-Publishing และ IR
เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัล   การดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน จึงมีการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตไปจากเดิม  เช่น  ช่องทางการรับการสื่อสารต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น  รวมไปถึงการรับรู้ – เข้าถึงสารสนเทศ  ที่ในอดีต มีเพียงสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์นั้น  แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อวงการสารสนเทศเป็นอย่างมาก
ทรัพยากรสารสนเทศ จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิง  E-Publishing จึงเข้ามีบทบาทต่อการใช้บริการ และการให้บริการทรัพยากรสารมนเทศเป็นอย่างมาก
E-Publishing  คือ สื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้บริการบนเว็บไซต์  ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ ในการเข้าถึงที่มีลักษณะและรูปแบบคล้ายกับ สารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์  เพียงแต่ไม่ได้พิมพ์ออกมาเท่านั้น  นอกไปจากนั้น  E - Publishing  ยังสามารถใส่ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย   และเพราะ E- Publishing มีความสามารถมากกว่า สื่อสิ่งพิมพ์ธรรมดา  จึงทำให้เกิดความนิยมใช้ E-Publishing มากขึ้นเรื่อยๆ
Trend E-Publishing
                E –Publishing  ประหยัดงบประมาณในการพิมพ์   , สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศประเภท E –Publishing ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องมาใช้ที่ห้องสมุดเท่านั้น  และยังสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ (OA)   รวมไปถึงสถาบันสารสนเทศเองก็ยังประหยัดงบประมาณในการสั่งซื้อ และประหยัดสถานที่ในการจัดเก็บสารสนเทศอีกด้วย( Information Overload )  จึงทำให้แนวโน้มการใช้ E- Publishing เพิ่มขึ้นทุกปี
-          จากสถิติของ Website Amazon.com  ร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ได้ประกาศ สถิติยอดขายล่าสุด ปี 2011 ว่า สามารถขาย E-Book ได้มากกว่า หนังสือฉบับพิมพ์
-          ในปี 2014  ประเทศสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า แนวโน้มการใช้  E- Publishing จะเพิ่มขึ้นจากปี 2011 ถึงร้อยละ 6


IR ( Institutional  Repositories )

IR  คือ  การเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บสารสนเทศ ของสถาบันสนเทศ ที่เป็นแหล่งจัดทำและให้บริการสารสนเทศ
ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์   โดยมีสถาบันสารสนเทศ หรือองค์กรต่างๆ เข้าร่วมมือกัน   รวบรวมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หลากหลายรูปแบบ เช่น  E-Document , E –Thesis , Book Chapter , conference paper เป็นต้น  และสามารถเข้าถึงได้และนำไปใช้ได้อย่างสาธารณะ ( OA )
                ห้องสมุดสมัยใหม่ ( Modern Library ) จึงเป็น IR และให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างสูงสุด