วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

The Evolution of E-Book ( ต่อ ) + E Journal

การเข้าถึง
-                   Offline >> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้เป็น ออฟไลน์ ถ่ายโอนมาที่เครื่อง
-                   Online >>  อ่านผ่านเครือข่าย ใช้โปรแกรมอ่าน

Implementation  of  E Book
1.   Downloadable  >> สามารถดาวน์โหลดได้เลย
2.   Dedication E - Book >> เปิดอ่านบน อินเทอร์เน็ตไม่ได้ต้องอ่านผ่านโปรแกรม เช่น amazon ใช้ kindle 
3.   Web accessible E Book >> เปิดอ่านได้ทันที เป็นการให้บริการเชิงพาณิชย์ ซื้อฐานข้อมูลและไม่ต้องจัดทำ   ใดๆเลย สามารถโอนเข้า OPAC อัตโนมัติเลย

>> E - Book  ออกเร็วจริง  แต่ ไม่ใช่  Core และไม่ใช่หนังสือขายดี  ห้องสมุดควรซื้อ หนังสืออ้างอิง ดังนั้นห้องสมุดจึงนิยมบอกรับ สารานุกรม และ ฐานข้อมูล Reference  แต่พบปัญหาคือ   ห้องสมุดบอกรับ แต่ไม่มีใครใช้
การนำมาให้บริการในห้องสมุด  >> ควรมีบนหน้า OPAC   ตัวอย่างเช่น  Mobile Access to E Book @ Yale University


E Journal

E Journal 
การจัดทำวารสาร
1. วัสดุสิ่งพิมพ์
2. วัสดุย่อส่วน ในไมโครฟิช เก็บได้ 200 ปี 
3. ในรูปแบบฐานข้อมูลซีดีรอม 
4. ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์   national geographical เป็นเล่มแรกๆ ไฟล์อาจเสียหายได้ง่ายๆ

ชื่อเรียก
-                   EJournal
-                   Online journal
-                   Internet journal
-                   Cyber journal

รูปแบบไฟล์
-                   PDF tradition to eclectronic format
-                   ABS  กำลังมาแรงในวงการวารสาร 
-                   Scan  trif , gif  , jpeg 
-                   HTML
ประเภท 
1.  ทำซ้ำฉบับพิมพ์   
2.  ทำเป็นดิจิทัล born digital titles

วิธีการจัดทำอิเล็กทรอนิกส์ 
1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสแกน
2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากกระบวนการพิมพ์  >> ตั้งใจทำออกมาทั้งสองรูปแบบ ทั้งสิ่งพิมพ์ และ อิเล็กทรอนิกส์
3. วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  >>  ในรูปแบบดิจิทัล ให้บริการบนอินเทอรเน็ต 

The Evolution of E-Book ( ต่อ )

ข้อด้อย
-                   ต้องอาศัยเครื่องอ่าน
-                   ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
-                   หายง่าย
-                   บางไฟล์ไม่สามารถอ่านได้ ต้องอาศัยเครื่องอ่านเฉพาะไฟล์เท่านั้น
-                   เปราะบาง เสียหายง่าย
-                   ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ถูก Hack Crack ได้ 

Electronic Book มี 3 แบบ
1.  สิ่งพิมพ์ ปรับเป็นอิเล็กทรอนิกส์ >> Gutenberg Project use OCR
2.  จัดทำใน รูปแบบ CD และเปลี่ยนเป็น HTML
3.  เริ่มจัดทำโดยใช้เทคโนโลยีเลย เกิดขึ้นมาก็เป็น Digital เลย

Book Scanner
Book scan >> เครื่องสแกน สำหรับถ่ายหนังสือโดยเฉพาะ
ลักษณะการทำงานของเครื่องสแกน  สามารถสแกนได้ประมาณ 2,000 เล่มต่อวัน  ราคาประมาณ 200,000 บาท
 
OCR
OCR  >> โปรแกรมอ่าน Text จากภาพ
โดยการนำ ข้อมูลจากหนังสือ มาทำหารสแกน ด้วยเครื่องสแกน จากนั้นนำไปเข้าโปรแกรมประเภท OCR มาทำการแปลงภาพที่ได้ ให้อยู่ในรูปแบบของ  MS Word จากนั้นนำมาแต่งเพิ่มเติมได้
  
รูปแบบของ E – Book
1.   Self publishing
ตัวอย่าง http://www.shelsilverstein.com/html/home.html  ใช้ flat ในการทำ E-Book
 http:// www.2ebook.com/mainpage.php ของไทย
2.   Commercial
3.   Education

Software ในการจัดทำ E – Book
-                   ExeBook
-                   e-Editor
-                   Mobipocket Publisher 3.0
-                   Desktop Author
-                   eBookGold
-                   E Book crator
-                   Flip Alablum

Software ในการอ่าน E –Book
-                   Browser
-                   Adobe
-                   MS Reader

ข้อดีของการให้บริการ E – Book สำหรับห้องสมุด
-   ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้จำนวนมากขึ้นในครั้งเดียวกัน
-   สามารถจัดการรูปแบบของความร่วมมือ ในการจัดซื้อ ประหยัดงบประมาณ และสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ในปริมาณที่มากขึ้น
            -    สามารถสนองความต้องการที่มีความต้องการได้ข้อมูลทันที
-    การจัดเก็บสามารถจัดเก็บได้สะดวกขึ้น  สามารถทำสำเนาได้ง่าย ไม่เปลืองกระดาษ และไม่ต้องทำซ้ำซ้อน ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ
-    ห้องสมุดสามารรถจัดทำ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถใช้บริการออนไลน์ได้
-    เทคโนโลยีใหม่ที่ห้องสมุดนำมาใช้ในการบริการได้มากขึ้น Blog wiki RSS OSS
-     การบอกรับห้องสมุด เป็นลักษณะการได้รับอนุญาตให้ใช้ lisence
-     ลดงาน การขึ้นชั้น การตรวจ ยืม - คืน

ข้อเสียของการให้บริการ E – Book สำหรับห้องสมุด

-    ขั้นตอนการจัดทำทรัพยากรในรูปแบบใหม่ บุคคลากรจึงต้องได้รับการฝึกฝนใหม่ เกี่ยวกับการจัดดารให้บริการหรือ ต้องการบุคคลากรกลุ่มใหม่
-    อุปกรณ์สำหรับใช้อาจต้องเพิ่มงบประมาณ จัดซื้อ ดูแลรักษา
-    การดูแลรักษา  อุปกรณ์ที่ต้องให้บริการร่วม Reader device
-    ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจาการขาด Reader device
-     Development model
            -    การจัดบริการเป็นเรื่องใหม่ แตกต่างจากการให้บริการสิ่งพิมพ์





วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

The Evolution of E-Book

The Evolution of E-Book

ทรัพยากรสารสนเทศมี 2 ประเภท คือ
1.  ทรัพยากรสารสนเทศประเภท สื่อสิ่งพิมพ์ 
2.  ทรัพยากรสารสนเทศประเภท สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

เนื่องด้วยยุคแห่งเทคโนโลยี จึงส่งผลให้ทรัพยากรสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบเป็น อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น  ปัจจุบัน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E – Book จึงได้รับความนิยมมากขึ้น
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ E – Book ได้รับความนิยมมากว่า เนื่องจาก E – Book สามารุนำเสนออกมาได้น่าสนใจกว่า ด้วยการผสมสื่อมัลติมีเดีย เช่น  ภาพ เสียง วีดีโอ  linked เข้าไป  และทรัพยากรสารสนเทศประเภท  E- Book  ยังง่ายต่อการเข้าถึง  เพราะสามารถเข้าถึงได้หลากหลายทางมากกว่าและสามารถที่จะเข้าถึงได้ ทุกที่ ทุกเวลา 

E – Book Reader >>  คือ เครื่องมือ อุปกรณ์สื่อสาร ที่ใช้ในการเปิดอ่าน E- Book  เช่น   Palm , iPhone  , iPad ,  Sony Reader , Kindle  เป็นต้น  



Format  >> ประกอบด้วยหลากหลายนามสกุลไฟล์ เช่น  PDF , ePub , eReader , HTML , Text (Txt) , iPhone PDF,  iPhone Book app เป็นต้น 

E – Book Reader >>  มักจะสนับสนุนไฟล์ของตัวเองเท่านั้น  แต่ละนามสกุลจึงเหมาะกับเครื่องอ่านของแต่ละประเภทเท่านั้น   ดังนั้น E- Book จึงถูกผลิตออกมา หลากหลายนามสกุล เพื่อที่จะสามารถอ่านได้จากหลากหลายเครื่องอ่าน

ePub >> เป็นตัวแก้ปัญหา  เพราะเป็นไฟล์มาตรฐาน ที่มีคุณสมบัติให้สามารถแปลงไฟล์ได้หลากหลายนามสกุลไฟล์
- เป็นมาตรฐาน
- สามารถปรับขนาดได้
- ไม่ใช้ในเชิงการค้า
- มี DRM คุ้มครองเรื่อง ลิขสิทธิ์
- สามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์รูปแบบอื่นได้ ในขณะที่นามสกุลอื่นทำไม่ได้
- มีเครื่องอ่านหรือโปรแกรมที่สามารถอ่าน  ePub หลากหลาย เช่น adobe , OverDrive  , Kindle , Sony Reader

คุณสมบัติ  E – Book  Reader
- ค้นภายในเนื้อหา
- บันทึกทุกข้อความ
- คัดลอกและวาง
- มีพจนานุกรม
- สามารถเน้นข้อความ และเพิ่มเติมข้อความ
- ปรับขยาย ตำแหน่ง
- อ่านออกเสียงได้
- เชื่อมโยง ( Hyperlink ) ( บางตัวโยงไปสารานุกรมให้ด้วย )
- สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
- ดีต่อสิ่งแวดล้อม

Microsoft reader >> เป็น software ที่เราเอามาเปิดอ่าน E – book ได้ สามารถดาวน์โหลด เก็บไว้อ่านได้ฟรี โดยตัวโปรแกรม สามารถอ่านให้ฟังได้ด้วย  นาสมกุล lit ที่สามารถบันทึกได้จาก  Microsoft word  

ประวัติ
-          ประเทศญี่ปุ่น  ชาวญี่ปุ่นที่นิยมใช้โทรศัพท์มือถือ จึงเกิดแนวความคิด mobile phone sale of eBook ขึ้น
-          แนวคิดในเรื่อง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ได้ปรากฏ ในนิยายทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1940
 - The Foundation
 - Star War
 - Time Machine
-          เขียนกล่าวถึง 20 ปี มาแล้วใน " Hitchiker's Guide to the Galaxy 1979 "

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า ราคา E – book จะยิ่งลดลงมาก เพราะแนวโน้มการใช้ E – Book ที่เพิ่มขึ้น จึงปรากฏเว็บไซด์หลากหลายเว็บไซด์ที่ให้บริการ ดาวน์โหลด E – book  เช่น  E Book.com  >> ให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายรูปแบบ , fictionwise.com >>  ขาย fiction และมีรูปแบบหลายนามสกุลให้ดาวน์โหลดเช่นกัน

ข้อดีของ E –Book
-          ไม่แพง
-          ไม่เปลืองที่จัดเก็บ
-          เข้าถึงได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอเวลา สามารถหาอ่านได้ทันที ที่ทำการเผยแพร่
** ผลวิจัย เด็กอ่าน E-Book  ดีกว่า เพราะน่าสนใจ มีสื่อมัลติมีเดียมากมาย  ช่วยพัฒนาการ การอ่านดีกว่าอ่านจาก   หนังสือเล่ม  เห็นภาพ จินตนาการดีกว่า

ข้อด้อยของ E –Book
- เพิ่มการคัดลอก เรื่องละเมิด ลิขสิทธิ์  เนื่องจากนำไปใช้ได้ง่าย 
- การอ่านผ่านจอ คอมพิวเตอร์  จะทำให้สานตาจะเสื่อมเร็วกว่าปกติ
- ขึ้นอยู่กับความสามารถของซอฟต์แวร์ ( Software Capability )



วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Gold OA : Open Access Journal


Gold OA  :  OA Journal


Gold OA  :  OA Journal
Gold OA : OA Journal วารสาร หรือ บทความ ที่เผยแพร่บทความ บนเว็บไซต์สาธารณะทั่วไป ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์  โดยตัวผู้แต่งเองจะเป็นผู้ดำเนินการ และจัดการเอง

ลักษณะของ OA Journal  
1.     เป็นวารสารบทความทางวิชาการ
2.     มีคุณภาพ ลักษณะเหมือนวารสารทั่วไป เช่น  editorial oversight and copy editing เป็นต้น
3.     เป็นบทความดิจิทอล ( digital )
4.     ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง และใช้บริการ
5.     ผู้แต่งยังคงมีสิทธิ์ในตัวบทความนั้นอยู่
6.     ผู้แต่งสามารถใช้ CC หรือ licenses อื่น ๆ ได้

OA Journal publishers -  types
1.       Born OA Publishers  >>   วารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
2.       Conventional Publishers  >>  วารสารเชิงพาณิชย์
3.       Non-Traditional Publishers  >>  วารสารที่จัดทำขึ้นโดยไม่หวังผลกำไร 



Implementing Open Access

Open Access

Implementing Open Access

Green OA  :  OA Archives or Repositories
                Green OA  คือ  เอกสาร บทความ รวมไปถึง วารสาร  ที่ผู้แต่งนำส่งสำนักพิมพ์ ตีพิมพ์ทั่วไป  แต่ผู้เขียนยังคงมีสิทธิ์ ในการเก็บ บทความดังกล่าวนั้น มาเผยแพร่ในเว็บไซด์ของตนเอง หรือ IR เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
Gold OA     :  OA Journal
                Gold OA   คือ   วารสาร หรือ บทความ ที่เผยแพร่บทความ บนเว็บไซต์สาธารณะทั่วไป ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์  โดยตัวผู้แต่งเองจะเป็นผู้ดำเนินการ และจัดการเอง

Self – Archives 

รูปแบบการนำเสนอ  Self – Archiving
1.       Author’s Personal Website  >>    นำเสนอบนเว็บไซด์ส่วนตัวของผู้แต่งเอง  โดยผู้แต่งยังคงอนุญาตให้ ผู้อ่านสามารถ เข้าดาวน์โหลดบทความได้ด้วย ทั้งรูปแบบ PDF File , HTML , Word และ E – Print   
2.       Disciplinary Archives >>  จัดเก็บ บทความ บนคลังจัดเก็บเอกสาร  เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง หรือ เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง  เช่น   http://dl.kids-d.org/  เป็นต้น
3.       Institutional – Unit Archives  >>   จัดเก็บ เผยแพร่เป็นหน่วยงานย่อยภายใต้ สถาบัน  เช่น หน้าเว็บเพจของ Duke Law Scholarship Reposition เป็น หน่วยย่อย ของเว็บไซด์ Duke Law เป็นต้น
4.       Institutional – Repositories  >>  เผยแพร่บทความ บนหน้าเว็บไซด์ของ สถาบันต่างๆ เอง  เช่น  CUIR       ( Chulalongkorn University Intellectual Repository )  



วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Pre-Print , Post-Print , Grey Literature , White Paper & Errata / Corrigenda


Pre-Print 

คือ เอกสารต้นฉบับ หรือ เอกสารฉบับร่าง ที่ยังไม่ได้ทำการพิมพ์และเผยแพร่  อยู่ในขั้นตอน การประเมินคุณภาพ  เพื่อตรวจสอบ  ปรับปรุง และแก้ไข

Post – Print

คือ เอกสารฉบับสมบูรณ์ ที่ได้รับการประเมินคุณค่า ( ปรับปรุงจาก Preprint แล้ว) เรียบร้อยแล้ว  โดยเอกสาร Post Print  อาจเป็นเอกสารที่ทางสำนักพิมพ์กำลังอยู่ในกระบวนการดำเนินการตีพิมพ์ก็ได้เลย   
**Both digital “pre-print” and “post-print”  are called "e-prints"


Grey  Literature

Grey  หมายถึง เอกสารที่หาได้ยาก กล่าวคือเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
Grey Literature  คือ  เอกสารที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด เอกสารที่ไม่มีตีพิมพ์ทั่วไป( เช่น หนังสือ วารสาร )   หรือเอกสารอื่นๆ ที่มีการควบคุมคุณภาพ  โดยมีการพิจารณาก่อนที่จะนำไปตีพิมพ์ และไม่นำไปตีพิมพ์แพร่หลาย  หรือเป็นสารสนเทศข้อมูลที่จัดทำโดยรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ โดยไม่ผลิตในเชิงเพื่อธุรกิจ

White Paper

คือ  เอกสารที่ถูกจัดทำขึ้น เพื่อเผยแพร่เจตจำนง ความคิดเห็น หรือ ข้อเท็จจริง จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เพื่อประโยชน์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเผยแพร่ ด้วยวิธีการแจกฟรี  อาจจัดทำโดย สำนักสงฆ์ , การทหาร เป็นต้น แต่เอกสารชนิดนี้ ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณา หรือ การชวนเชื่อ  ( not persuasive or propaganda )

Errata / Corrigenda 

หมายถึง  เอกสารที่ผิดพลาด  ต้องการการปรับปรุง  และสามารถ ปรับปรุงแก้ไขได้ เช่น  เอกสารหรือสารสนเทศ IR  ที่สามารถแก้ไข หรือ ปรับปรุงได้


วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์
                ลิขสิทธิ์  หมายถึง  ความเป็นเจ้าของ  ความมีสิทธิแต่ผู้เดียว โดยที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์ กระทำ การใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด โดยผู้อื่นไม่สามารถทำซ้ำ  ดัดแปลง หรือ นำไปใช้ในทางการค้าได้   เพราะการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมานั้นต้องใช้ สติปัญญา และความสามารถ ผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงควรได้รับความคุ้มครอง
ระยะเวลาที่ให้เวลาคุ้มครอง
เดิม ให้ระยะเวลาความคุ้มครองสิทธิ์ นาน 50 ปี  
ปัจจุบัน  ให้ระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์ ต่ำสุด 70 ปี
ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์นานสูงสุดถึง  120  ปี   


ลิขสิทธิ์โดยธรรม ( Fair Use )
ลิขสิทธิ์โดยธรรม  หมายถึง  การอนุญาตให้ทำสำเนา  งานที่มีลิขสิทธิ์ ในจำนวนจำกัด  เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษา  และวิจัย  รวมไปถึงการใช้งาน โสตทัศนวัสดุ หรือ ภาพยนตร์  งานศิลปกรรม  งานสถาปัตยกรรม เป็นต้น
เนื่องด้วยปัจจุบันมีลิขสิทธิ์โดยธรรม จึงมีกฎเกณฑ์ปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์ ที่ถือว่าเหมาะสม ดังนี้
1.  ภาพเคลื่อนไหว  >> ทำซ้ำและหรือเผยแพร่ได้ไม่เกิน 10 % หรือ 3 นาที ของแต่ละเรื่อง
2.  ดนตรีกรรม และมิวสิกวิดีโอ  >>  สามารถทำซ้ำและหรือสำเนางานได้ไม่เกิน 10 % แต่ต้องไม่มากกว่า 30 วินาทีของแต่ละงานและ จะดัดแปลง ทำนองหรือส่วนอันเป็นสาระสำคัญไม่ได้
3.  รูปภาพและภาพถ่าย 
>>  ใช้ได้ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หากเป็นการใช้ภาพจากงานวารสารหรือ สิ่งพิมพ์  สามารถใช้ได้ไม่เกิน 10 % หรือ 15 ภาพ ของจำนวนภาพทั้งหมดที่ปรากฏในวารสารหรือ สิ่งพิมพ์นั้น
4.  ข้อความ  >>  ทำซ้ำและหรือเผยแพร่ได้ไม่เกิน 10 % หรือ 1,000 คำ ของแต่ละเรื่องหรือแต่ละบทความ   
5.  ข้อมูลจากงานรวบรวมอันมีลิขสิทธิ์   >>  ไม่เกิน 10 % หรือ 2,500 รายกา /ข้อมูล


ครีเอทีฟ คอมมอนส์  ( Creative Commons: CC )

ครีเอทีฟ คอมมอนส์  ( Creative Commons: CC )   คือ  องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรจัดตั้งขึ้นขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม
สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

ในเว็บไซต์ของ Creative Commons ( http://www.creativecommons.org/ ) เปรียบไว้ว่า Creative  Commons หรือ CC มีแนวคิดเดียวกับ OA ( open source software ) เพียงแต่ไม่ได้เจาะจงใช้กับซอฟต์แวร์ แต่ใช้กับงานสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น ภาพ เพลง  ภาพเคลื่อนไหว งานเขียน เป็นต้น Creative Commons เป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกลางระหว่าง  Copy Right กับ Public Domain เรียกง่ายๆ ว่าเป็น "Some" Right Reserved ก็ได้
รูปแบบสัญญาของ Creative Commons มี 11 แบบ เกิดจากการผสมกันของคุณสมบัติ แบบ ดังต่อไปนี้
·         Attribution คือ อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ได้ ถ้าอ้างอิงที่มา
·         Noncommercial คือ ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงการค้า
·         No Derivative Works คือ ต้องนำผลงานไปใช้ตรงๆ ทั้งชิ้น ห้ามไม่ให้ดัดแปลง หรือ ตัดบางส่วน
·         Share Alike คือ หลังจากนำไปใช้แล้ว  ผลงานนั้นต้องมีสัญญาแบบเดียวกันกับผลงานเดิมด้วย 


CC  ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง บนเว็บไซด์ ที่ให้บริการสารสนเทศ และโสตทัศนวัสดุ ที่เรียกว่า CC Material เช่น Flickr.com  เป็นต้น